วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ประเภทหน้ากากผีตาโขน

หน้ากากผีตาโขนน้อยชนิดหวดหงาย
   ประเภทหน้ากากผีตาโขน
การทำหน้ากากผีตาโขนแต่ดั้งเดิมจนถึงปัจจุบันที่ทำกันเป็นประเพณีตลอดมา พอจำแนกประเภทได้ 2 ประเภท คือ
1. ผีตาโขนใหญ่ นิยมทำเป็นคู่แสดงเพศชาย-หญิง ขึ้นรูปด้วยการสานไม้ไผ่ความสูงประมาณ  2.30 - 2.50 เมตร
2. ผีตาโขนน้อย มีขนาดที่สวมใส่เสมอเท่าตัวคน แบ่งออกได้ 2 ชนิด ได้แก่
   2.1 หน้ากากผีตาโขนน้อยชนิดหวดคว่ำ
   2.2 หน้ากากผีตาโขนน้อยชนิดหวดหงาย
หน้ากากผีตาโขนน้อยชนิดหวดคว่ำ

หน้ากากผีตาโขนเล็ก ทำจากส่วนที่เป็นโคนของก้านมะพร้าวและหวดนึ่งข้าวเหนียว โดยนำมาเย็บติดกันแล้วเขียนหน้าตา ทำจมูกเหมือนผี ส่วนชุดแต่งกายของผีมักมีสีฉูดฉาดบาดตา โดยอาจเย็บเศษผ้าเป็นเสื้อตัวกางเกงตัวหรือเย็บเป็นชุดติดกันตลอดตัวก็ได้ ข้อสำคัญคือต้องคลุมร่างกายให้มิดชิด หน้ากากผีตาโขนสมัยดั้งเดิมจะทำจากหวดเก่าที่ใช้แล้ว ในส่วนที่ครอบศีรษะจะเย็บติดกับโคนของก้านมะพร้าว ส่วนที่เป็นใบหน้าจะใช้ไม้นุ่นทำจมูกสั้นคล้ายจมูกคน ใช้สีที่ได้จากธรรมชาติ จะไม่ปรากฏลวดลายที่เด่นชัดเพราะเน้นให้หน้ากากมีความลึกลับน่ากลัว ส่วนหน้ากากผีตาโขนสมัยกลางนับตั้งแต่หน่วยงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การสนับสนุนในปี พ.ศ.2531 มีความเปลี่ยนแปลงจากสมัยดั้งเดิม โดยนอกเหนือจากการนำหน้ากากผีตาโขนมาเล่นตามจุดประสงค์หลักดังที่กล่าวมาแล้ว ยังได้มุ่งการทำหน้ากากผีตาโขนเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์และดึงดูดความสนใจ ตลอดจนเน้นผลทางธุรกิจจากนักท่องเที่ยว หน้ากากผีตาโขนในสมัยนี้จึงมีความสวยสดงดงามละเอียดและประณีตขึ้นจากเดิมหวดที่ใช้ครอบศีรษะจะใช้หวดใหม่ ส่วนใบหน้ากากผีตาโขนมีความยาวขึ้น รวมทั้งจมูกที่โค้งงอคล้ายงวงช้าง สีที่ใช้จะมีทั้งสีน้ำพลาสติก สีน้ำมันซึ่งให้ความมันวาวและคงทนด้านความสัมพันธ์ของหน้ากากผีตาโขนกับวิถีชุมชนอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย พบว่าหน้ากากผีตาโขนจะมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่เป็นอย่างมาก เพราะมีความเชื่อว่าการจัดทำหน้ากากผีตาโขนเข้าร่วมแสดงในงานของทุกปีเมื่อเสร็จแล้วจะเป็นการปล่อยผีสาง และยังปล่อยทุกข์โศกให้ไหลไปตามแม่น้ำด้วย ด้านระบบรัฐศาสตร์จะมีความสัมพันธ์ที่คนในท้องถิ่นแต่ละคน แต่ละหน่วยงานจะเข้าใจและทราบบทบาทหน้าที่ของตนเองหรือของกลุ่มที่มีการแบ่งงานและหน้าที่กันทำหน้ากากผีตาโขนเพื่อเข้าร่วมแสดง โดยไม่มีการขัดแย้งกันในทางปฏิบัติก่อให้เกิดความสามัคคีของชุมชนด้านระบบวิทยาศาสตร์จะมีความสัมพันธ์ในลักษณะของการแสดงออกถึงภูมิปัญญาชาวบ้านที่รู้จักการนำเอาธรรมชาติมาจัดสร้างเป็นผลงาน พร้อมการปรับธรรมชาติให้มีความคงอยู่ในเชิงนิเวศน์ตลอดจนการดำเนินการทำ และผลิตหน้ากากผีตาโขนรูปแบบของจริงและรูปแบบของที่ระลึกนอกจากนี้หน้ากากผีตาโขนยังส่งอิทธิพลต่อความคิด ความรู้สึกของชาวจังหวัดเลย โดยส่วนรวมที่มีการใช้เป็นสื่อสัญลักษณ์อันแสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด ในการรับรู้ของคนทั่วไปจะเข้าใจว่า หน้ากากผีตาโขน คือ สื่อศิลป์ที่แสดงออกทางความเชื่อเกี่ยวกับผี เกี่ยวกับความลึกลับน่ากลัวหรือสิ่งไม่ดี แต่อีกด้านหนึ่งหน้ากากผีตาโขนจัดทำว่าเป็นสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่แสดงให้เห็นถึงความร่วมใจ ความพร้อมเพรียง ความสมัครสมานสามัคคีและความภาคภูมิใจ และการสืบสานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชุมชนให้ปรากฏแก่ชาวโลกสืบไป

ความเชื่อความศรัทธา

  ความเชื่อเกี่ยวกับผีตาโขน ประวัติความเชื่อในการทำหน้ากากผีตาโขนหน้ากากผีตาโขนเป็นหน้ากากที่ใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่อศรัทธาทางศาสนาที่มีในอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลยการใช้หน้ากาก มีความสำคัญและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์มนุษย์ในลุ่มแม่น้ำโขงทั้งมวล ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปความเชื่อศรัทธาของชาติพันธ์มนุษย์ในลุ่มแม่น้ำโขง ชาติพันธุ์มนุษย์ในลุ่มแม่น้ำโขงเป็นอารยะชนที่มีความเจริญมาช้านาน มีความเชื่อเรื่องผี มีพิธีกรรมเกี่ยวข้องในวิถีชีวิตตลอดมาหิ้ง เป็นที่สถิตของวิญญาณบรรพบุรุษ จะเรียกว่าผีบรรพบุรุษหรือผีเชื้อก็ได้
ขบวนแห่ผีตาโขน
การรักษาหิ้งนั้นมีจารีตคำสอนและคำสั่งของบรรพบุรุษเป็นแนวปฏิบัติ ภายในห้องของบ้านจะมีที่บูชาวิญญาณผีบรรพบุรุษเรียกว่าหิ้งบนหิ้งจะมีพานหรือมีจานใส่เทียนและดอกไม้บูชา ซึ่งเจ้าของบ้านและลูกหลานจะต้องนำมาบูชาทุก
8 ค่ำ 15 ค่ำ หรือทุกวันพระ หิ้งเป็นที่สำหรับอธิฐานขอความช่วยเหลือของครองครัวครอบครัวใดถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นภายในเจ้าหิ้งจะต้องการทำพิธีกรรมบอกกล่าวหิ้งโดยมีความเชื่อว่าผีบรรพบุรุษจะคอยคุ้มครองและช่วยหนุนนำในการดำเนินชีวิตแต่ถ้าบุคคลในครอบครัวทำผิดไม่อยู่ในจารีตผีบรรพบุรุษก็จะลงโทษดังนั้นความเชื่อเรื่องหิ้งนี้จึงสามารถควบคุมพฤติกรรมของทุกคนในครอบครัวให้อยู่ในกรอบของจารีประเพณีอันดีได้ หอเป็นที่สถิตของวิญญาณเจ้านายผู้มีอำนาจเคยปกครองมาแต่ดั้งเดิมสถานที่ของหอเป็นบริเวณที่เหมาะและมีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นสถานที่ห้ามผู้คนเข้าไปรบกวน ห้ามตัดต้นไม้ และจับสัตว์ หอที่ตั้งมานานจะมีลักษณะเป็นป่าอันร่มรื่น ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเชื่อว่าจะมีอันเป็นไป หอทุกหอมีกวน เจ้ากวน กวนจ้ำ หรือเฒ่าจ้ำ เป็นผู้ดูแลและผู้นำในการทำพิธีเซ่นไหว้ต่างๆ ผู้ที่จะเป็นกวนประจำหอได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ชาวบ้านเลือก ส่วนใหญ่เป็นชายสูงอายุที่มีความประพฤติอยู่ในศีลธรรม เป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน หอทุกหอจะมีกำหนดการเซ่นไหว้ของหอเป็นประจำทุกๆปี ซึ่งระยะเวลาจะแตกต่างกันไปแต่ละชุมชน นอกจากพิธีกรรมเซ่นไหว้ประจำปีของหอแล้วยังมีพิธีกรรมการบะ พิธีกรรมนี้ใช้เพื่อให้การอธิษฐานขอไว้จะได้สำเร็จดังปรารถนา ผู้ที่ทำการบะจะมีเรื่องสำคัญที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น มีคดีความ  มีการเจ็บป่วย   มีการทำธุรกิจการค้า  มีภาระพิเศษจะต้องเดินทาง  มีวาระที่ต้องสอบแข่งขันหรือมีการคัดเลือกต่างๆ หรือมีเรื่องอื่นๆ เมื่อเรื่องที่อธิฐานไว้สำเร็จแล้วก็จะได้นำเครื่องที่บะไว้มาถวายเป็นการแก้บะ ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันต่อมา วัด เป็นสถานที่ศักดิสิทธิ์ทางพุทธศาสนา เจ้าหิ้งเจ้าหอหรือกวนจะต้องมาปฏิบัติบารมี และสร้างกุศลให้กับดวงวิญญาณที่สถิตในหิ้ง  หอและสิ่งศักดิสิทธิ์อื่นที่เป็นของรักษาในบ้านวัดพระธาตุศรีสองรักวัดพระธาตุศรีสองรักในอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลยทุกๆปีมีจะมีงานบูชาหรืองานนมัสการจะมีใน วันขึ้น 15 ค่ำ ของ เดือน 6 ของ พิธีที่สำคัญคือพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา  มีการอุปสมบทเป็นประจำทุกปีเป็นประเพณีที่ขาดไม่ได้กวนหรือเจ้ากวนของแต่ละหมู่บ้านตลอดจนบ้านใดที่มีหิ้งบูชาก็จะมีการตั้งกองบวชอุทิศกุศลให้กับดวงวิญญาณที่สถิตอยู่ที่หอและหิ้งแล้วจึงมีพิธีกรรมบูชาพระธาตุศรีสองรัก การบูชาพระธาตุด้วยต้นผึ้งเป็นสำคัญ ดังนั้นการกำหนดวันบูชาพระธาตุแต่โบราณมานั้นได้กำหนดในวันขึ้น  15 ค่ำเดือน  6 ของทุกปีโดยไม่ต้องเลือนตามปฏิทินที่เป็นปีอธิกมาศ เจ้าหิ้งเจ้าหอแต่ละชุมชนแต่ละหมู่บ้านและชาวเมืองจะมารวมพิธีกรรมโดยไม่ต้องนัดหมายถือปฏิบัติกันมาเป็นประเพณีจนถึงปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมา

ตำนานเรื่องเล่าที่มาของผีตาโขนพระเอกของงานนี้ นับเป็นอุบายอันแยบคายเฉพาะของบรรพบุรุษเมืองด่านซ้ายให้เด็ก ๆ ในเมืองเล่นสนุกกันเป็นการส่งท้ายงานบุญโดยจับเอา เวสสันดรชาดก พระชาติที่ 10 ที่สำคัญที่สุดของพระพุทธเจ้าในตอนที่พระเวสสันดรจะได้กลับคืนพระนคร บรรดาผีป่าทั้งหลายต่างพากันมาส่งเสด็จจนถึงในเมือง เมื่อเข้าเมืองด้วยความเป็นผีป่าไม่เคยเข้าเมือง ก็เลยออกพากันตระเวณเที่ยวเมือง โดยไม่ได้ทำอันตรายใคร แต่ด้วยความที่เป็นผี เมื่อชาวเมืองไปพบเข้าจึงตกใจกลัว สัญชาตญาณผีก็อดที่จะแลบลิ้นปลิ้นตาหลอกชาวบ้านไม่ได้ เมื่อได้เวลาบรรดาผีป่าก็จะพากันออกนอกเมืองกลับคืนสู่ป่า พร้อม ๆ กับนำพาความโชคร้ายและทุกข์โศกโรคภัยทั้งปวงออกจากเมืองไปด้วยประเพณีแห่ผีตาโขน
ภาพ ผีตาโขนเดินตระเวณเมือง
เป็นงานประเพณีเล็ก ๆ ที่เล่นกันอยู่ในขอบเขตอำเภอเล็ก ๆ คืออำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย แต่ด้วยรูปแบบและเนื้อหาของงานที่เป็นเรื่องผี ๆ แต่เป็นผีน่ารักน่าสนุกจึงน่าสนใจยิ่งสำหรับมนุษย์งานเล็กจากอำเภอเล็ก ๆ งานนี้ สุดท้ายจึงก้าวออกไปเป็นงานประเพณีที่เชิดหน้าชูตาของภูมิภาคอีสาน และกลายเป็นงานประเพณีระดับชาติ ทุกปีจะมีชาวต่างประเทศจากทั่วโลกเดินทางไปเที่ยวชมงานผี ๆ งานนี้กันปีละไม่ใช่น้อย งานประเพณีแห่ผีตาโขน เป็นการรวมงานสำคัญของท้องถิ่นสามงานเข้าด้วยกันคือ งานบุญผะเหวด หรือบุญพระเวส อันเป็นงานฉลองการฟังเทศน์มหาชาติ งานแห่ผีตาโขน และงานบุญบั้งไฟ เข้าด้วยกันรูปแบบประเพณีงานประเพณีแห่ผีตาโขน ผูกพันแนบแน่นกับองค์พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองคือ องค์พระธาตุศรีสองรักษ์ ที่เชื่อกันว่าสร้างขึ้นโดยพระมหาจักรพรรดิฝ่ายกรุงศรีอยุธยาและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชฝ่ายกรุงศรีสัตนาคนหุด เพื่อเป็นประจักษ์พยานถึงมิตรภาพระหว่างกันวงจรของประเพณีผีตาโขน เริ่มต้นขึ้นโดยบุคคลศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองสองคนคือ เจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม ที่มีฐานะเป็นดังผู้วิเศษหมอผี และครูใหญ่ของเมืองที่มีหน้าที่หลักในการดูแลองค์พระธาตุศรีสองรัก พระธาตุคู่เมืองด่านซ้ายโดยเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียม จะเป็นจุดเริ่มต้นวงจรของประเพณีนี้เริ่มต้นจากพิธีบายศรีที่บ้านของเจ้าพ่อกวนและเจ้าแม่นางเทียมในภาคเช้าและระหว่างที่พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์กำลังดำเนินอยู่นั่นเอง เด็ก ๆ ในทุกบ้านเรืองของเมืองด่านซ้ายก็จะช่วยกันจัดหาเศษผ้ามาเย็บเป็นเสื้อผ้าของผีตาโขน หาอุปกรณ์คือหวดนึ่งข้าวเหนียวและแกนก้านมะพร้าวมาทำหน้ากากผีตาโขนด้วยการวาดลวดลายเพิ่มสีสันเป็นผีตาโขนที่หน้าตาโหดร้ายน่ากลัว หา
หมากกะแหล่งหรือกระดึงผูกคอวัวควายมาทำเป็นเครื่องประดับ และที่สำคัญที่สุดที่ผีตาโขนหลายตัวประณีตบรรจงประดิดประดอยเป็นที่สุดก็คือ อาวุธของผีตาโขนเป็นดาบใหญ่ ทำด้วยไม้มีทีเด็ดของดาบอยู่ที่ปลายด้ามดาบที่ทำเป็นรูปปลัดขิกอันโต ทายอดกลม ๆ เป็นสีแดงแจ๋ เอาไว้ไล่จิ้มสาว ๆ ในเมืองโดยเฉพาะในภาคบ่ายจะเป็นพิธีการในฝ่ายราชการ เป็นการแห่ผีตาโขน โดยจัดรูปขบวนแห่ อันประกอบด้วยผีตาโขนใหญ่ ที่ทำเป็นหุ่นใหญ่คล้ายหัวโตของภาคกลาง และผีตาโขนเล็ก เป็นเด็ก ๆ ผู้ชายในเมืองเกือบทั้งหมด ภาคค่ำเป็นการชุมนุมกันฟังเทศน์มหาชาติของผู้เฒ่าผู้แก่และผู้ใหญ่ในเมืองส่วนในวันที่สอง ตั้งแต่เช้าเป็นการออกอาละวาดไปทั่วเมืองของชาวผีตาโขน และตกช่วงบ่ายจะเป็นพิธีจุดบั้งไฟขอฝน เป็นอันหมดสิ้นประเพณีแห่ผีตาโขนรวม 2 วันกับหนึ่งคืนด้วยกันจุดเด่นของพิธีกรรมจุดเด่นที่สุดของงานนี้จะมีอยู่ด้วยกันสองช่วงคือ ภาคบ่ายวันแรกอันเป็นขบวนแห่ผีตาโขนอันน่าสนุกสนานและสวยงาม และวันที่สองช่วงสายที่ผีตาโขนจะออกอาละวาดไปทั่วเมือง
ภาพ ผีตาโขนออกอาละวาดเมือง

ผีตาโขนคืออะไร

ผีตาโขน คือ  หน้ากากอย่างหนึ่งของไทย เป็นร่องรอยของผลงานที่หลงเหลือ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์มนุษย์ วัฒนธรรมนี้ได้บ่งบอกถึงประวัติศาสตร์อันเกี่ยวกับความเชื่อและความศรัทธาในการดำเนินชีวิตของบรรพบุรุษมาเป็นเวลาช้นาน  หน้ากากผีตาโขนจึงนับว่าเป็นผลงานศิลปะมีรูปแบบ  และความงามที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ได้รับการสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน
หน้ากากผีตาโขน
"ผีตาโขนเป็นชื่อการละเล่นชนิดหนึ่ง โดยผู้เล่นทำรูปหน้ากาก มีลักษณะ น่าเกลียดน่ากลัว มาสวมใส่และแต่งตัวมิดชิด แล้วเข้าขบวนแห่แสดงท่าทางต่าง ๆ ในระหว่างมีงานบุญตามประเพณีประจำปีของท้องถิ่นพื้นบ้าน การเล่นผีตาโขน มีปรากฏในพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย การเล่นผีตาโขน มีเฉพาะงานบุญประเพณีที่ภาษาพื้นบ้านอำเภอด่านซ้าย เรียกว่า บุญหลวง
บุญหลวงที่วัดโพนชัย อำเภอด่านซ้าย ในเดือนแปดข้างขึ้น นิยมทำ 3 วัน ดังกล่าว คือ วันแรกเป็นวันรวม ( วันโฮม ) เป็นวันที่ประชาชนตามตำบลหมู่บ้านต่าง ๆ เดินทางมาร่วมงาน ซึ่งปกติจะนำบั้งไฟมาด้วย โดยเริ่มตั้งแต่เวลาประมาณ  04.00 น. – 05.00 น. ทำพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเข้ามาประดิษฐานอยู่ที่วัด โดยอัญเชิญก้อนหิน จากแม่น้ำหมันใส่พาน ซึ่งสมมติว่าเป็นพระอุปคุตนำมาประดิษฐานไว้ที่หออุปคุต ข้างศาลาโรงธรรม ที่เตรียมจัดไว้แล้ว เชื่อว่าจะสามารป้องกันเหตุเภทภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดในงานได้ เมื่อพิธีอัญเชิญพระอุปคุตเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีการละเล่นต่าง ๆ ทั้งกลางวันและกลางคืน เช่น เล่นเซิ้งบั้งไฟ ฟ้อนรำ การแสดงผีตาโขน การแสดงการเล่นต่าง ๆ เป็นต้น วันที่สองของงาน ตั้งแต่ตอนเช้าถึงบ่าย จะมีการละเล่นต่าง ๆ

ศิลปะหน้ากากผีตาโขน
หน้ากากผีตาโขนเป็นผลงานศิลปะอันเกิดจากความเชื่อศรัทธาในศาสนา เป็นศิลปะที่มีรูปแบบ และเป็นรูปแบบศิลปะแบบอุดมคติ ผลงานทางศิลปะที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยใช้สื่อประสม โดยมีขบวนการสร้างสรรค์ที่แสดงออกทั้งทางประติมากรรมและจิตรกรรมเป็นสำคัญ อีกทั้งได้แสดงออกถึงเอกลักษณะที่สำคัญในการใช้วัสดุอันเป็นการแสดงถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ได้แสดงถึงความมีอารยะธรรมของผลงานหัตถกรรมที่นำมาใช้เป็นวัสดุอุปกรณ์ด้วยผลงานศิลปะหน้ากากนี้ได้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจนนับได้ว่าเป็นผลงานศิลปะที่สำคัญของชาติพันธุ์มนุษย์ในท้องถิ่นมาเป็นเวลาช้านานและผลงานศิลปะนี้ได้ทรงอยู่กับการดำเนินชีวิตตลอดมา ดังนั้นหน้ากากนี้จึงผลงานศิลปะที่มีประวัติความเป็นมา และเป็นผลงานศิลปะที่มีความงาม



การตกแต่งหน้ากากผีตาโขน

หน้ากากผีตาโขนทุกประเภทนอกจากจะมีองค์ประกอบด้านโครงสร้างแล้ว ยังมีการตกแต่งเพิ่มเติมอีก ซึ่งแต่โบราณมาสีก็เป็นส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน ในท้องถิ่นทุรกันดารนี้สีก็ได้จากวัสดุธรรมชาติ อันได้แก่ ปูนขาว เขม่าไฟ และสีจากพืชเป็นหลัก ดังนั้น สีที่สำคัญได้แก่ สีขาว สีดำ สีแดง สีน้ำตาล เป็นต้น ลวดลายที่เขียนก็ล้วนได้รับอิทธิพลจากธรรมชาติ เช่น ลูกอ๊อด ปลา และเถาวัลย์ต่างๆ ศิลปะหน้ากากผีตาโขนที่มีมาแต่โบราณนั้น จึงเป็นผลงานทางศิลปะที่ต้องเขียนด้วยสีเป็นหลัก ถึงแม้จะมีร่องรอยการแกะสลักอยู่บ้างก็ตาม แต่ก็เป็นองค์ประกอบในส่วนรองเท่านั้นการทำผีตาโขนใหญ่ ทำเป็นรูปผู้ชายตนหนึ่ง และรูปผู้หญิงตนหนึ่ง ผู้จัดทำมีชาวบ้านตระกูลหนึ่ง อยู่ในบ้านด่านซ้าย หมู่ที่ 2 ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย เป็นผู้ที่มีจัดทำติดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ช่างตระกูลนี้ถือเป็นหน้าที่ของตนที่จะต้องกระทำ เพราะถ้าปีใดไม่ทำ อาจทำให้คนในตระกูลนั้นเกิดภัยพิบัติ เช่น เจ็บป่วยไข้ เป็นต้น การทำรูปผีตาโขนใหญ่เชื่อกันว่า จำลองมาจากร่างกายของคนแปดศอก คือ คนสมัยโบราณ ซึ่งเล่าต่อ ๆ กัน มาว่าคนสมัยก่อนรูปร่างใหญ่โตมาก ใหญ่ขนาดมีความสูงถึงแปดศอก ก่อนทำโครงร่างของผีตาโขนใหญ่ ผู้ทำจะต้องทำพิธีโดยแต่งขันดอกไม้และเทียน ขันห้าและขันแปด คือ มีดอกไม้และเทียนอย่างละ 5 คู่ และ 8 คู่ ใส่พานหรือขัน กล่าวคำขอขมาและอนุญาตต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ก่อน จึงลงมือทำการทำร่างผีตาโขนใหญ่ใช้สานด้วยตอกไม้ไผ่ปื้นใหญ่ ทำส่วนศีรษะก่อน โดยสานเป็นทรงกลม หาผ้าผืนใหญ่มาหุ้ม แล้วหาวัตถุที่เป็นเส้น ๆ เช่น เส้นของทางมะพร้าวที่ทุบเอาเนื้อออกแล้ว มาติดที่บนศีรษะ สมมุติให้เป็นผมโดยให้ผมผู้หญิงยาวกว่าผมผู้ชาย ใบหน้าสานด้วยตอกไม้ไผ่เป็นวงกลม คล้ายกระด้งฝัดข้าวนำมาผูกติดกับส่วนศีรษะ แล้วหาวัตถุบางอย่างมาทำเป็นรูปริมผีปาก จมูก ตา คิ้ว หู และแต้มด้วยสีให้ดูน่าเกลียดน่ากลัว ใบหน้าผีตาโขนผู้ชายหาอะไรมาทำหนวดเคราด้วย เมื่อมองดูจะได้รู้ว่าคนไหนเป็นชาย คนไหนเป็นหญิง ส่วนลำตัวและแขนก็สานด้วยด้วยไม้ไผ่ ทั้งลำตัวและแขนหุ้มด้วยผ้าผืนใหญ่ เช่น ผ้ามุ้ง ผ้าห่ม ฯลฯ ที่ไม่ใช้แล้ว เย็บคลุมให้มิดชิด ตรงด้านหน้าใต้สะดือลงมา สำหรับผีตาโขนผู้ชายทำอวัยวะเพศชายมาใส่ อาจทำด้วยไม้หรือวัตถุอื่นก็ได้ โดยผูกติดกับลำตัวตอนหน้าใต้บั้นเอวลงมา ส่วนผีตาโขนเพศหญิง ก็ทำอวัยวะเพศของหญิง ขนาดใหญ่ให้สมส่วนกับลำตัว อาจทำด้วยโคนต้นกล้วยหรือวัตถุอื่นก็ได้ แล้วเย็บติดไว้ตรงใต้สะดือเช่นกัน และตรงหน้าอกทั้งสองข้างของผีตาโขนผู้หญิง นำวัตถุมาทำรูปนม จะทำด้วยกะลามะพร้าว ลูกบอลผ่าซีกหรือวัตถุอื่น ๆ ก็ได้ ภายในลำตัวผีตาโขน เอาไม้ไผ่เป็นลำมัดไขว้ผูกติดไว้ สำหรับให้คนยืนข้างในจับยกร่างผีตาโขนเคลื่อนไปได้ และด้านหน้าตอนลำตัว เจาะรู 2 รู ให้คนถือผีตาโขนมองเห็นได้ และใต้ช่องที่ตามองลอด ให้เจาะรูขนาดแขนสอดเข้าออกได้ สำหรับสอดขวดเหล้าหรือสิ่งของเข้าไป เมื่อคนให้เหล้าหรือสิ่งของแก่ผีตาโขนใหญ่ หรือสำหรับใช้มือยื่นลอดออกมา เมื่อมีคนยื่นเหล้าหรือสิ่งของให้คนถือผีตาโขนอยู่ข้างใน
ผีตาโขนใหญ่ ชาย-หญิง