ความเชื่อเกี่ยวกับผีตาโขน
ประวัติความเชื่อในการทำหน้ากากผีตาโขนหน้ากากผีตาโขนเป็นหน้ากากที่ใช้ในพิธีกรรมตามความเชื่อศรัทธาทางศาสนาที่มีในอำเภอด่านซ้าย
จังหวัดเลยการใช้หน้ากาก
มีความสำคัญและความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับชาติพันธุ์มนุษย์ในลุ่มแม่น้ำโขงทั้งมวล
ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีชื่อเรียกต่างกันออกไปความเชื่อศรัทธาของชาติพันธ์มนุษย์ในลุ่มแม่น้ำโขง
ชาติพันธุ์มนุษย์ในลุ่มแม่น้ำโขงเป็นอารยะชนที่มีความเจริญมาช้านาน
มีความเชื่อเรื่องผี มีพิธีกรรมเกี่ยวข้องในวิถีชีวิตตลอดมาหิ้ง
เป็นที่สถิตของวิญญาณบรรพบุรุษ จะเรียกว่าผีบรรพบุรุษหรือผีเชื้อก็ได้
|
ขบวนแห่ผีตาโขน |
การรักษาหิ้งนั้นมีจารีตคำสอนและคำสั่งของบรรพบุรุษเป็นแนวปฏิบัติ
ภายในห้องของบ้านจะมีที่บูชาวิญญาณผีบรรพบุรุษเรียกว่าหิ้งบนหิ้งจะมีพานหรือมีจานใส่เทียนและดอกไม้บูชา
ซึ่งเจ้าของบ้านและลูกหลานจะต้องนำมาบูชาทุก 8 ค่ำ 15 ค่ำ หรือทุกวันพระ
หิ้งเป็นที่สำหรับอธิฐานขอความช่วยเหลือของครองครัวครอบครัวใดถ้ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นภายในเจ้าหิ้งจะต้องการทำพิธีกรรมบอกกล่าวหิ้งโดยมีความเชื่อว่าผีบรรพบุรุษจะคอยคุ้มครองและช่วยหนุนนำในการดำเนินชีวิตแต่ถ้าบุคคลในครอบครัวทำผิดไม่อยู่ในจารีตผีบรรพบุรุษก็จะลงโทษดังนั้นความเชื่อเรื่องหิ้งนี้จึงสามารถควบคุมพฤติกรรมของทุกคนในครอบครัวให้อยู่ในกรอบของจารีประเพณีอันดีได้
หอเป็นที่สถิตของวิญญาณเจ้านายผู้มีอำนาจเคยปกครองมาแต่ดั้งเดิมสถานที่ของหอเป็นบริเวณที่เหมาะและมีความศักดิ์สิทธิ์
เป็นสถานที่ห้ามผู้คนเข้าไปรบกวน ห้ามตัดต้นไม้ และจับสัตว์ หอที่ตั้งมานานจะมีลักษณะเป็นป่าอันร่มรื่น
ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามเชื่อว่าจะมีอันเป็นไป หอทุกหอมีกวน เจ้ากวน กวนจ้ำ หรือเฒ่าจ้ำ
เป็นผู้ดูแลและผู้นำในการทำพิธีเซ่นไหว้ต่างๆ
ผู้ที่จะเป็นกวนประจำหอได้นั้นจะต้องเป็นผู้ที่ชาวบ้านเลือก
ส่วนใหญ่เป็นชายสูงอายุที่มีความประพฤติอยู่ในศีลธรรม เป็นที่ยอมรับของชาวบ้าน
หอทุกหอจะมีกำหนดการเซ่นไหว้ของหอเป็นประจำทุกๆปี
ซึ่งระยะเวลาจะแตกต่างกันไปแต่ละชุมชน
นอกจากพิธีกรรมเซ่นไหว้ประจำปีของหอแล้วยังมีพิธีกรรมการบะ พิธีกรรมนี้ใช้เพื่อให้การอธิษฐานขอไว้จะได้สำเร็จดังปรารถนา
ผู้ที่ทำการบะจะมีเรื่องสำคัญที่ต้องการความช่วยเหลือ เช่น มีคดีความ มีการเจ็บป่วย มีการทำธุรกิจการค้า มีภาระพิเศษจะต้องเดินทาง มีวาระที่ต้องสอบแข่งขันหรือมีการคัดเลือกต่างๆ
หรือมีเรื่องอื่นๆ เมื่อเรื่องที่อธิฐานไว้สำเร็จแล้วก็จะได้นำเครื่องที่บะไว้มาถวายเป็นการแก้บะ
ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่สืบทอดกันต่อมา วัด เป็นสถานที่ศักดิสิทธิ์ทางพุทธศาสนา
เจ้าหิ้งเจ้าหอหรือกวนจะต้องมาปฏิบัติบารมี
และสร้างกุศลให้กับดวงวิญญาณที่สถิตในหิ้ง หอและสิ่งศักดิสิทธิ์อื่นที่เป็นของรักษาในบ้านวัดพระธาตุศรีสองรักวัดพระธาตุศรีสองรักในอำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลยทุกๆปีมีจะมีงานบูชาหรืองานนมัสการจะมีใน วันขึ้น 15 ค่ำ ของ เดือน 6 ของ
พิธีที่สำคัญคือพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
มีการอุปสมบทเป็นประจำทุกปีเป็นประเพณีที่ขาดไม่ได้กวนหรือเจ้ากวนของแต่ละหมู่บ้านตลอดจนบ้านใดที่มีหิ้งบูชาก็จะมีการตั้งกองบวชอุทิศกุศลให้กับดวงวิญญาณที่สถิตอยู่ที่หอและหิ้งแล้วจึงมีพิธีกรรมบูชาพระธาตุศรีสองรัก
การบูชาพระธาตุด้วยต้นผึ้งเป็นสำคัญ
ดังนั้นการกำหนดวันบูชาพระธาตุแต่โบราณมานั้นได้กำหนดในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ของทุกปีโดยไม่ต้องเลือนตามปฏิทินที่เป็นปีอธิกมาศ
เจ้าหิ้งเจ้าหอแต่ละชุมชนแต่ละหมู่บ้านและชาวเมืองจะมารวมพิธีกรรมโดยไม่ต้องนัดหมายถือปฏิบัติกันมาเป็นประเพณีจนถึงปัจจุบัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น